J.K. rowling
เจ เค โรว์ลิง ในวัย 25 ปี เธอยังเป็นนักเขียนไส้แห้ง แต่ในระหว่างที่รอรถไฟซึ่งกำลังดีเลย์นานถึง 4 ชั่วโมง เธอก็เกิดไอเดีย ในการสร้างนิยายกระหึ่มโลก นั่นก็คือ พ่อมดน้อย แฮร์รี พอตเตอร์ แล้วเธอก็ลงมือเขียนมันในเย็นวันนั้นนั่นเอง เธอใช้เวลาหลายปีในการเขียนนิยายเรื่องนี้ จนถูกไล่ออกจากงาน เพราะมัวแต่ฝันถึงมันมากเกินไป ที่แย่ไปกว่านั้นกว่าที่จะเขียนนิยายสำเร็จ เธอได้แต่งงาน มีลูก หย่าร้าง และถูกหมอวินจฉัยว่าป่วยเป็นโรคซึมเศร้า
โจแอนน์ "โจ" โรว์ลิ่ง (Joanne "Jo" Rowling ) เกิดเมื่อ 31 กรกฎาคม 1965 เธอเกิดมาในครอบครัวของนักอ่าน พ่อแม่สะสมหนังสือไว้มากมาย มีพ่อเป็นวิศวกร ส่วนแม่ทำหน้าที่ดูแลเธอ และ ได น้องสาว โจเขียนหนังสือเรื่องแรกมีชื่อว่า Rabbit เมื่ออายุเพียงห้าขวบ และพ่อแม่ของเธอก็กระตือรือร้นในการปลูกฝังจินตนาการของลูกสาวคนโต เมื่อโจอายุได้ 14 แม่ของเธอก็ป่วยเป็นโรคเส้นโลหิตตีบ แล้วก็เสียชีวิตในปี 1990 เจ.เค. โรว์ลิ่งให้สัมภาษณ์ว่า “ฉันรู้สึกกลัวพ่อมากตลอดเวลาอันแสนยาวนาน ฉันเหนื่อยและหมดหวังที่จะพิสูจน์ตัวเองให้พ่อยอมรับและทำให้พ่อมีความสุข”
“ตอนนั้นมีเหตุให้ฉันไม่กล้าติดต่อพ่อเลยประมาณ 2- 3 ปี”
แฮร์รี่ พอตเตอร์ ได้ถือกำเนิดขึ้น ในปี 1990 ขณะที่เธออยู่บนรถไฟระหว่างสถานีแมนเชสเตอร์ และคิงส์ครอสในลอนดอน โจแอนก็แว่บความคิดเกี่ยวกับเด็กกำพร้าผู้ค้นพบว่าเขาคือพ่อมด เธอรีบตรงกลับบ้านและบันทึกความคิดนี้ลงบนกระดาษทันที และนี่คือจุดเริ่มต้นของโปรเจกต์ที่จะเสร็จสมบูรณ์ในหกปีต่อมา หลังจากนั้นเธอได้แต่งงานกับนักหนังสือพิมพ์ชาวโปรตุเกสและมีลูกสาวหนึ่งคนชื่อ เจสสิก้า ความตกต่ำในชีวิตของเจ.เค โรว์ลิ่ง เริ่มต้นจากการเลิกรากับสามี เธอสารภาพว่า “ฉันมีชีวิตการแต่งงานที่เลวร้ายในช่วงเวลาสั้นๆ ฉันพาลูกสาวกลับไปอังกฤษเพื่อสร้างชีวิตใหม่เท่าที่ฉันจะทำได้ในตอนนั้น” “มันเป็นความยุ่งยากในชีวิตที่ฉันก่อขึ้น มันทำร้ายฉันมากเหลือเกิน”
ระหว่างนั้นเธอกลายเป็นคนว่างงาน ต้องเลี้ยงลูกเพียงลำพังอยู่ในแฟลทรังหนูราคา 230 ปอนด์ต่ออาทิตย์ ด้วยเช็คสังคมสงเคราะห์อาทิตย์ละ 70 ปอนด์ ทำให้เธอต้องพาลูกมาเลี้ยงที่ร้านกาแฟของน้องเขยทุกวัน เธอใช้เวลาว่างในการแต่งหนังสือของเธอจนจบ
เธอเสนอผลงานให้กับ 6 สำนักพิมพ์แต่ไม่มีสำนักพิมพ์ใดเลยที่สนใจผลงานของเธอ แต่เธอก็ไม่ย่อท้อ แต่กลับเชื่อมั่นว่า แฮรี่ พอตเตอร์ จะต้องเป็นที่ชื่นชอบของเด็กๆทั่วโลก ในที่สุดสำนักพิมพ์ที่ 7 ก็รับพิมพ์หนังสือของเธอโดยให้ค่าลิขสิทธ์จำนวน 4000 ดอลลาร์ และตีพิมพ์ด้วยยอดพิมพ์ที่ต่ำกว่า 1000 เล่มในปี 1997 ปี 1998 แฮรี่ พอตเตอร์ถูกตีพิมพ์ที่สหรัฐอเมริกา ไม่นานคนทั้งโลกก็ได้รู้จักกับปรากฏการณ์แฮรี่ฟีเวอร์ จนได้นำไปทำเป็นภาพยนตร์ที่ทำให้ผู้คนหลงใหลไปทั่วโลก
ปัจจุบันเธอมีทรัพย์สินร่วม 2,000 ล้านบาท ขึ้นทำเนียบบุคคลรวยที่สุดอันดับ 122 ของอังกฤษ ไม่ว่าคุณจะฝันใหญ่ขนาดไหน จงเอาบทเรียนจากนักเขียนชื่อดังคนนี้เป็นตัวอย่าง สักวันคุณก็จะประสบความสำเร็จได้เช่นกัน
Martha Steward
มาธา สจ๊วต เจ้าแม่รายการอาหารชื่อก้องโลก เมื่อายุ 25 ปี เธอยังทำงานประจำเป็นโบรกเกอร์หุ้น ในตลาดวอลล์ สตรีท ในยุคที่มีผู้หญิงน้อยมากที่จะมีความรู้เพียงพอที่จะทำอาชีพนี้ได้ แต่เธอบอกว่า มั่นใจว่าตัวเองได้รับการศึกษามาเพียงพอที่จะทำงานนี้ได้ ต่อมาเธอลาออกมาเป็นแม่บ้าน และเริ่มธุรกิจจัดเลี้ยงของตัวเอง เธอเคยพลาดพลั้งในเรื่องการใช้ชีวิต จนต้องติดคุก 5 เดือน ก่อนกลับมาผงาดในวงการสื่อ อะไรคือเคล็ดลับให้เธอประสบความสำเร็จในธุรกิจนี้
Martha Helen Stawart คือ คนที่ประสบความสำเร็จในฐานะผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ และนิตยสาร เธอมีสโลแกนที่บ่งบอกความเป็นตัวเองได้เป็นอย่างดีว่า "I'm brand." นั่นหมายความว่า เธอ คือ สินค้า มาร์ธา สจ๊วต เป็นหญิงสาวผู้ทรงอิทธิพล ทั้งในด้านการเป็นนักธุรกิจและการเป็นแม่บ้าน ธุรกิจในมือของมาร์ธา สจ๊วต มีทั้ง Martha Stewart Living Omnimedia , นิตยสาร Martha Stewart Living , รายการโทรทัศน์ชื่อดังอย่าง The Martha Stewart Show รายการที่เปลี่ยนไลฟ์สไตล์ของผู้หญิงอเมริกัน
เธอเกิดและโตในสหรัฐฯ เป็นเด็กเรียนดี สามารถเข้าเรียนที่ Barnard College ใน Manhattan ซึ่งถือเป็นวิทยาลัยหญิงระดับต้นๆ ของอเมริกา จากนั้นจึงทำงานเป็นนางแบบโฆษณาให้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ จนโด่งดัง นิตยสาร Glamour เลือกให้เป็น "Best Dressed College Girls" ในปี ค.ศ. 1961
ไม่กี่ปีต่อมา มาร์ธาเข้าไปทำงานโบรกเกอร์ในตลาดหุ้นนิวยอร์ก จากนั้นเธอลงทุนซื้อบ้านใหม่ที่เมือง Westport มลรัฐ Connecticut แล้วเริ่มธุรกิจอาหารและจัดเลี้ยงนอกสถานที่ จนเป็นที่รู้จักในวงการธุรกิจใหญ่และแวดวงสังคมคนดัง จากนั้น เธอออกหนังสือเล่มแรกที่ชื่อว่า "Entertaining" ขายได้กว่าล้านเล่ม ซึ่งเธอพบว่า ควรจะเอาดีด้านการทำสื่อมากกว่าทำธุรกิจการเงินหรือไฟแนนซ์
ในปี 1999 มาร์ธา นำบริษัท Martha Stewart Living Omnimedia เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก เธอกลายมาเป็นนักธุรกิจพันล้าน เริ่มใช้ชีวิตหรูหรา หลงใหลกับการลงทุนเก็งกำไรจนเกิดพลาดครั้งสำคัญในชีวิต ถูกศาลสั่งจำคุก ในคดีให้ความเท็จ กรณีเทขายหุ้นบริษัทยาที่ชื่อ ImClone โดยใช้ Insider Trading ต้องโทษจำคุก 5 เดือน ทันทีที่ออกจากคุก มาร์ธากลับมาทำงานต่อ โดยร่วมทำรายการเรียลลิตี้ดังอย่าง Apprentice ซึ่งเป็นรายการเดียวกับ Donald Trump แต่สำหรับเวอร์ชั่น Martha Stewart ปรับปรุงจากรายการทีวีของเธอเดิมที่ชื่อว่า "Martha Stewart Living" และยังมีอีกรายการเป็นทอล์กโชว์รายวัน
นอกจากนี้ยังรับรายได้จากบริษัท Martha Stewart Living Omnimedia เจ้าของสื่อต่างๆ ทั้งนิตยสาร รายการทีวี ฯลฯ ปีละราว 900,000 เหรียญฯ มาร์ธา สจ๊วต บอกว่า เจ้าของธุรกิจจะต้องแยกแยะความแตกต่างระหว่างการ "รับความเสี่ยง" กับ "การรับโอกาส" ว่ามันไม่เหมือนกัน สิ่งที่มาร์ธาคิดเสมอคือ " เธอไม่ชอบคว้าโอกาส แต่เธอคิดว่า การพิจารณาความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น คือสิ่งสำคัญพื้นฐานของการเป็นผู้ประกอบการที่ดี" ความมุ่งมั่น และเตรียมใจพร้อมรับความเสี่ยงในธุรกิจ คือ เคล็บลับความสำเร็จในธุรกิจสื่อของ มาร์ธา สจ๊วต
ขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.flagfrog.com
http://news.voicetv.co.th/business
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น